ลักษณะแห่งอินทรียภาวนาชั้นเลิศ

 ลักษณะแห่งอินทรียภาวนาชั้นเลิศ

ตามเหตุตามปัจจัย



    อานนท์ ! อินทรียภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า?     อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ-เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา.     ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัย ปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.     (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ-เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่.     อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ-ไม่เป็นที่ชอบใจ-เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกะพริบตาของคน ส่วนอุเบกขายังคงเหลืออยู่.     อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรียภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย     ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ. ......     (ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน; ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ, เช่นในกรณีแห่งเสียงเปรียบด้วยความเร็วแห่ง การดีดนิ้วมือ เป็นต้น).

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒/๘๕๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น