ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์

 ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์ 

รายการทวนกระแส



ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนมีบุรุษผู้หนึ่ง ว่ายล่องกระแสน้ำลงไป เพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ. มีบุรุษบัณฑิตผู้หนึ่ง ยืนอยู่บนฝั่ง เห็นบุรุษผู้ว่ายน้ำนั้นแล้ว ร้องบอกไปว่า “ท่านผู้เจริญ ! ท่านย่อมว่ายล่องตามกระแสน้ำ เพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจโดยแท้. แต่ว่า ทางเบื้องล่างนั้น มีห้วงน้ำลึก มีคลื่น มีน้ำวน มียักษ์ มีรากษส ซึ่งเมื่อท่านไปถึงที่นั่นแล้ว จักต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย”. ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้ว่ายล่องตามกระแสน้ำ นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วก็พยายาม ว่ายทวนกระแสน้ำกลับมา ด้วยกำลังมือและเท้าทั้งหมดของเขา. ภิกษุทั้งหลาย ! คำอุปมานี้ ตถาคตผูกขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความ. เนื้อความในเรื่องนั้น ดังนี้ : คำว่า ‘กระแสน้ำ’ เป็นชื่อแห่งตัณหา.          คำว่า ‘สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ’ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายในหก.          คำว่า ‘ห้วงน้ำลึก’ เป็นชื่อแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้าอย่าง.          คำว่า ‘คลื่น’ เป็นชื่อแห่งความโกรธ และความคับแค้น.          คำว่า ‘น้ำวน’เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.          คำว่า ‘ยักษ์’ และ ‘รากษส’ เป็นชื่อแห่งเพศตรงข้าม.          คำว่า ‘ว่ายทวนกระแสกลับมา’ เป็นชื่อแห่งเนกขัมมะ.          คำว่า ‘พยายามด้วยกำลังมือและเท้าทั้งหมด’ เป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร.             คำว่า ‘บุรุษบัณฑิต ผู้ยืนอยู่บนฝั่ง’ เป็นชื่อแห่งตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม พุทธเจ้า นี้แล.

- บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๑๖/๒๘๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น