ไม่ควรห้ามผู้อื่นให้ทาน

 ไม่ควรห้ามผู้อื่นให้ทาน

ไอ้เราก็เทซะด้วย ทีนี้ก็ลำบากว้าวุ่นเลย



วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายต่อสิ่ง ๓ สิ่ง คือ (๑) ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้)     (๒) ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับ)     (๓) และตัวเองก็ขุดรากตัวเอง กำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล. วัจฉะ ! เราเองย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้ใด เทน้ำล้างหม้อหรือน้ำล้างชามก็ตาม ลงในหลุมน้ำครำ หรือทางน้ำโสโครกซึ่งมีสัตว์มีชีวิตเกิดอยู่ในนั้น ด้วยคิดว่าสัตว์ในนั้นจะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว เราก็ยังกล่าวว่า นั่นเป็นทางมาแห่งบุญ เพราะการทำแม้เช่นนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานแก่มนุษย์ด้วยกัน” ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าทานที่ให้แก่ผู้มีศีล เป็นทานมีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้ทุศีล หาเป็นอย่างนั้นไม่ และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละเสียซึ่งองค์ ๕ และประกอบอยู่ด้วยองค์ ๕. ละองค์ ๕ คือ (๑) ละกามฉันทะ (๒) ละพยาบาท (๓) ละถีนมิทธะ (หดหู่ซึมเซา) (๔) ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านรำคาญ) (๕) ละวิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย) ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ (๑) ประกอบด้วยกองศีลชั้นอเสขะ (คือชั้นพระอรหันต์) (๒) ประกอบด้วยกองสมาธิชั้นอเสขะ (๓) ประกอบด้วยกองปัญญาชั้นอเสขะ (๔) ประกอบด้วยกองวิมุตติชั้นอเสขะ (๕) ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะชั้นอเสขะ เรากล่าวว่าทานที่ให้ในบุคคลผู้ละองค์ ๕ และประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยอาการอย่างนี้ มีผลมาก ดังนี้. -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๐๕/๔๙๗.

2 ความคิดเห็น: