ความรู้สึกของปุถุชน

 ความรู้สึกของปุถุชน

เครื่องวัดอริยะบุคคล ไม่ใช่สิ่งนี้


ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลกนี้ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ. ปุถุชนนั้น :- (๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว. (๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นํ้า ... .     (๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง ไฟ ... .     (๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง ลม ... .     (๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย ... .     (๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เทพทั้งหลาย ... .     (๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง ปชาบดี ... .     (๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง พรหม ... .     (๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง อาภัสสรพรหมทั้งหลาย ... .     (๑๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย ... .     (๑๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหลาย ... .     (๑๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง อภิภู ... .     (๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ... .     (๑๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ... .     (๑๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ... .     (๑๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ... .     (๑๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ... .     (๑๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว ... .     (๑๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว ... . (ทางจมูก, ลิ้น, ผิวกาย) ... .     (๒๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว ... . (ทางมโนวิญญาณ)     (๒๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เอกภาวะ {๑} (เอกตฺตํ) ... .     (๒๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นานาภาวะ {๑} (นานตฺตํ) ...     (๒๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง สรรพภาวะ {๓} (สพฺพํ) ... .๒.     (๒๔) ย่อมรู้สึกซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้สึกซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน ย่อมสำคัญมั่นหมายในนิพพาน ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ย่อมสำคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.๒. ๑. เอกภาวะ : ความเป็นหนึ่ง (วิญญาณ). ๑. นานาภาวะ : ความแตกต่างกัน (รูป เวทนา สัญญาและสังขาร).๒. ๓. สรรพภาวะ : สิ่งทั้งปวง (ขันธ์ทั้ง ๕).๒.

-บาลี มู. ม. ๑๒/๑/๒.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น