เหตุให้ศาสนาเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ๔ ประการ อะไรบ้างเล่า ? ๔ ประการคือ :-
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุ เล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด; เมื่อบทและพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ผู้บวชในภายหลังได้เห็นพวกเถระเหล่านั้นทำแบบแผนเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาไปเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้ทำการสะสมบริกขารบ้าง ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่เหลียวแลในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ตามกันสืบไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แล ที่ทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น