ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น

ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น

เจโตวิมุตติ



ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เจโตวิมุตติ {๑} ที่ไม่กำเริบอันใดมีอยู่, พรหมจรรย์นี้มี สิ่งนั้น นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่เป็นแก่นแท้’ ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด, รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง. จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอาแก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้. สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้” ดังนี้.

๑. เจโตวิมุตติ คือ การบรรลุอรหัตตผลโดยมีน้ำหนักของการทำสมาธิมากกว่าการกระทำด้านอื่นๆ. แบบของการหลุดพ้นยังมีอย่างอื่นอีก เช่น สัทธาวิมุตติ, ปัญญาวิมุตติ เป็นต้น.


-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น