ผู้ชี้ขุมทรัพย์

ผู้ชี้ขุมทรัพย์

พี่ดุนะ น้องไหวหรอ




    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอมเหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
    คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น     เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.

    -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖. -บาลี ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖.

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร



เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร


  กาลนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไป
สู่เมืองโกสัมพี เพื่อบิณฑบาต ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพีแล้ว ภายหลัง
ภัตตกาล กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริขารขึ้นมาถือไว้ แล้วประทับยืน ตรัสคาถานี้ว่า
คนไพร่ๆ ด้วยกัน ส่งเสียงเอ็ดตะโร แต่หามีคนไหนสำคัญตัวว่า เป็นพาลไม่
เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็นอย่างอื่น ให้ดีขึ้นไปกว่านั้นได้ไม่. พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนาจะพูดอย่างไร ก็พูดพล่ามไปอย่างนั้น หาได้นำพาถึงกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะกันไม่. พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง. พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์
ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับได้. ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้
ด้วยไม่มีการผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล.
คนพวกอื่น ไม่รู้สึกว่า ‘พวกเราจะแหลกลาญก็เพราะเหตุนี้’ พวกใด สำนึกตัวได้
ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับได้ เพราะความรู้สึกนั้น.
ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยังมีได้แม้แก่พวกคนกักขฬะเหล่านั้น
ที่ปล้นเมืองหักแข้งขาชาวบ้าน ฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไมจะมีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า. ถ้าหากไม่ได้สหายที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ ที่มีความเป็นอยู่ดี เป็นเพื่อนร่วมทางแล้วไซร้ ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชาที่ละแคว้นซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไป
คนเดียว ดุจช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น. การเที่ยวไปคนเดียว ดีกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันได้กับคนพาล พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่ทำบาป เป็นคนมักน้อย ดุจช้างมาตังคะ เป็นสัตว์มักน้อย เที่ยวไป
ในป่า ฉะนั้น.

-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๑๒/๒๓๘.

ควรคบคนที่สูงกว่า

ชิคุจฉสูตร

ควรคบคนที่สูงกว่า



   [๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
    ๑. บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่     ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
    ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด
มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีบุคคล เน่าในภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ บุคคลเห็นปานนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดีของเขา ก็ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในคูถ ถึงแม้จะไม่กัดแต่ก็ทำให้เปื้อนได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติ ของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริงแต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดีของเขา ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงน่าเกลียด ไม่ควรเสพไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคืองพยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏเปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ความหมักหมมยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธมากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือน
ถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมแตกเสียงดังจิๆ แม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจเมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธและความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคืองพยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความพินาศให้เราบ้าง ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมบุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะแม้จะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็ตาม ถึงกระนั้น ชื่อเสียงที่ดีงามของเขาก็จะระบือไปว่า เป็นผู้มีคนดีเป็นมิตร มีคนดีเป็นสหาย มีคนดีเป็นเพื่อนฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ
คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ฯ
จบสูตรที่ ๗

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐  หน้าที่ ๑๑๙-๑๒๑  ข้อที่ ๔๖๖

อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ

อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ


อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ



    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก; ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง; เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกาย อันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย. ภิกษุนั้นเป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว, เสวยเวทนาใดๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม, ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้นๆ.
    เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้นๆ, นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
    (ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัส
ทางผิวหนังด้วยผิวกาย และรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน)
.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมที่ทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.


-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๙๒/๔๕๘.

การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร

การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร


การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร



มหาราชะ ! ครั้งหนึ่ง ตถาคตพักอยู่ที่นิคมแห่งพวกศากยะ ชื่อว่านครกะ
ในแคว้นสักกะ.
มหาราชะ ! ครั้งนั้นแล ภิกษุอานนท์ได้เข้าไปหาตถาคตถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งลง
ณ ที่ควร.
มหาราชะ ! ภิกษุอานนท์ได้กล่าวคำนี้กะตถาคตว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนผู้แวดล้อมดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์พระเจ้าข้า !” ดังนี้. มหาราชะ ! เมื่อภิกษุอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ตถาคตได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า “อานนท์ ! เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย, อานนท์ ! ข้อนี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทั้งสิ้นทีเดียว คือความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนผู้แวดล้อมดี.
อานนท์ ! พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้มีมิตรดีพึงหวังได้. เมื่อเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนผู้แวดล้อมดี เธอนั้นจักทำอริยมรรคมีองค์แปดให้เจริญได้ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดได้ ดังนี้.

    -บาลี สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๒.

ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคงแก่พรหมจรรย์

ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคงแก่พรหมจรรย์

ทรงหวังให้ช่วยกันทำความมั่นคงแก่พรหมจรรย์



จุนทะ ! เพราะเหตุนั้น เธอพึงปฏิบัติในกรณีนี้ว่า ธรรมเหล่าใดอันเราแสดงแล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่ง, ในธรรมเหล่านั้น อันเธอทั้งหลาย ทุกคนพึงประชุมกัน มั่วสุมกัน
แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะโดยพยัญชนะ พึงประพฤติกระทำให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้ จักดำรงอยู่ยืนนาน จักตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่มหาชนเพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย จุนทะ ! ธรรมทั้งหลาย อันเราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เหล่านั้นเป็นอย่างไรเล่า...? ข้อนี้ได้แก่ธรรมเหล่านี้ คือ
สติปัฏฐาน ทั้งหลาย สี่
สัมมัปปธาน ทั้งหลาย สี่
อิทธิบาท ทั้งหลาย สี่
อินทรีย์ ทั้งหลาย ห้า
พละ ทั้งหลาย ห้า
สัมโพชฌงค์ ทั้งหลาย เจ็ด
อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์แปด.
จุนทะ ! ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมอันเราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อันเธอทั้งหลาย ทุกคนเทียวพึงประชุมกัน มั่วสุมกัน แล้วพึงสังคายนาซึ่งอรรถโดยอรรถ ซึ่งพยัญชนะโดยพยัญชนะ พึงประพฤติกระทำให้วิเศษ โดยประการที่พรหมจรรย์นี้
จักดำรงอยู่ยืนนาน จักตั้งอยู่ตลอดกาลยาวนาน. พรหมจรรย์นั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและ มนุษย์ ทั้งหลาย

บาลี ปาสาทิกสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๓๙/๑๐๘. ตรัสแก่จุนทสมณุทเทส ที่อัมพวันปราสาท ของเจ้าศากยะพวกเวธัญญา.

ทรงประกาศธรรม เนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร

ทรงประกาศธรรม เนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร


ทรงประกาศธรรม เนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร



ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้นพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนานี้) จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน, ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน, เพื่ออนุเคราะห์โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ, คือ :- สติปัฏฐานสี่ สัมมัปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.
ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราจักเตือนท่านทั้งหลายว่า : สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด, การปรินิพพานของตถาคต จักมีในกาลไม่นานเลย ตถาคตจักปรินิพพาน โดยกาลล่วงไปแห่งสามเดือนนี้. สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่มและคนแก่, ทั้งที่เป็นคนพาล และบัณฑิต, ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตาย เป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า, เปรียบเหมือนภาชนะดิน ที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่, ทั้งที่สุกแล้วและยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด; ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้น. วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักละพวกเธอไป สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด. ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

    -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗.     -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๘.

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ



ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ


     บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น
ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศ
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น
เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

(ไทย)อุปริ.ม. ๑๔/๒๖๕/๕๒๖-๕๓๔
(บาลี)อุปริ.ม. ๑๔/๓๔๘/๕๒๖-๕๓๔