หลักการพิจารณาว่ากรรมชนิดนั้นควรทำหรือไม่

 หลักการพิจารณาว่ากรรมชนิดนั้นควรทำหรือไม่

GOD CIGAR KING OF THE SMOKERS



เมื่อจะกระทำ

ราหุล ! เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยกาย พึงพิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอไม่พึงกระทำกายกรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้, ราหุล ! เธอพึงกระทำกายกรรมชนิดนั้น.

เมื่อกระทำอยู่

ราหุล ! เมื่อเธอกระทำกรรมใด ด้วยกายอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอพึงเลิกละกายกรรมชนิดนั้นเสีย. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้. ราหุล ! เธอพึงเร่งการกระทำกายกรรมชนิดนั้น.

เมื่อกระทำแล้ว

ราหุล ! เมื่อกระทำกรรมใดด้วยกายแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งกายกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย, ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้. -บาลี ม. ม. ๑๓/๑๒๖/๑๒๙.

1 ความคิดเห็น: