ละธรรม ๕ อย่าง ได้ความเป็นอริยบุคคล (นัยที่ ๑)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน … ทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน … ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล … อนาคามิผล … อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่
(๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ
(๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน … ทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน … ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล … สกทาคามิผล … อนาคามิผล … อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่
(๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ
(๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.
(๑) ความตระหนี่ที่อยู่
(๒) ความตระหนี่สกุล
(๓) ความตระหนี่ลาภ
(๔) ความตระหนี่วรรณะ
(๕) ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.
(ในสูตรอื่น ได้ตรัสโดยนัยเดียวกันนี้ ต่างกันเฉพาะในข้อที่ ๕ โดยตรัสว่าเป็น ความตระหนี่ธรรม -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๒/๒๕๗. -ผู้รวบรวม)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๓/๒๕๙.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น