ถอดรองเท้าใส่บาตร พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ

ถอดรองเท้าใส่บาตร พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ


ไม่ต้องถอดรองเท้าใส่บาตร




    พึงทราบว่า เสขิยวัตร มารยาทข้อวัตรที่อยู่ในกลุ่ม อภิสมาจาร บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สั่งพระไม่ได้สั่งโยม(ฆราวาส) มารยาทในการออกบิณฑบาต มารยาทในการขบฉัน การแสดงธรรม การถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ใช้กับพระเท่านั้น
    วัตรในการออกบิณฑบาต เช่น ไม่เดินไกวแขน ไม่เอาผ้าโผกหัว มีสายตาทอดลงต่ำ จงมีเสียงน้อยเดินไปในระแวกบ้าน รับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ เป็นต้น สังเกตว่าจะไม่มีข้อวัตรสำหรับสั่งฆราวาสเลย โดยเฉพาะเรื่องใส่รองเท้า หรือถอดรองเท้า ฉะนั้นขณะใส่บาตร ฆราวาสจะใส่ หรือจะถอดรองเท้าก็ได้ ไม่ผิดหรือบาปอะไรเลย
    แต่ ในการเกี่ยวข้องกับพระ เรื่องหนึ่งที่ฆราวาสต้องถอดรองเท้าแน่ๆ ก็คือ ขณะฟังธรรม ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ข้อวัตรที่ใช้สั่งฆราวาส แต่ใช้สั่งพระ นั่นคือ ภิกษุจะไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมรองเท้า ดังพระสูตรที่ยกมานี้ครับ

    วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค
    ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๘๖๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมเขียงเท้า ... 
    พระอนุบัญญัติ
    ๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้ เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.
    สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าก็ดี ผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
    อนาปัตติวาร ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
    ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
_______________
    ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒ 
    ๘๖๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้สวมรองเท้า ...
    พระอนุบัญญัติ
    ๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้ เจ็บไข้ สวมรองเท้า.


พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒.   หน้าที่ ๗๐๒.    ข้อที่ ๘๖๒ - ๘๖๓


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น