เรื่องสัตว์ ๓ สหาย

 เรื่องสัตว์ สหาย

เรื่องสัตว์ ๓ สหาย



[๒๖๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง เคยมีมาแล้ว มีต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่แถบหิมพานต์ สัตว์ สหายคือ นกกระทา ๑ ลิง ๑ ช้าง ๑ อาศัยต้นไทรใหญ่นั้นอยู่ ทั้งสามสัตว์นั้นมิได้เคารพ มิได้ยำเกรงกัน มีความประพฤติไม่กลมเกลียวกันอยู่ จึงสัตว์ สหายนั้นปรึกษา กันว่า โอ พวกเราทำอย่างไรจึงจะรู้ได้แน่ว่าบรรดาพวกเราผู้ใดเป็นใหญ่โดยกำเนิด พวกเราจะได้สักการะ เคารพ นับถือบูชาผู้นั้น แลจะได้ตั้งอยู่ในโอวาทของผู้นั้นจึงนกกระทาและลิงถามช้างว่า สหายท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง ช้างตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันเดินคร่อมต้นไทรนี้ไว้ ในหว่างขาหนีบได้ยอดไทรพอระท้องฉัน ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้ นกกระทากับช้างถามลิงว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง ลิงตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกินยอดไทรนี้ ฉันจำ เรื่องเก่าได้ ดังนี้ ลิงและช้างถามนกกระทาว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง นกกระทาตอบว่า สหายทั้งหลาย ในสถานที่โน้นมีต้นไทรใหญ่ ฉันกินผล จากต้นไทรใหญ่นั้น แล้วได้ถ่ายมูลไว้ ณ สถานที่นี้ ต้นไทรต้นนี้เกิดจากต้นไทรใหญ่ นั้น เพราะฉะนั้นฉันจึงเป็นใหญ่กว่าโดยกำเนิด ลิงกับช้างได้กล่าวกับนกกระทาว่า บรรดาพวกเรา ท่านเป็นผู้ใหญ่กว่า โดยกำเนิด พวกเราจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านและจะตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นกกระทาได้ให้ลิงกับช้าง สมาทานศีลห้าและตนเอง ก็ประพฤติสมาทานในศีลห้า สัตว์ทั้งสามมีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกร ภิกษุทั้งหลายวัตรจริยานี้แลได้ชื่อว่าติตติริยพรหมจรรย์ ฯ [๒๖] คนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้งสัมปรายภพของ คนเหล่านั้นเป็นสุคติแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย แท้จริงสัตว์เหล่านั้นเป็นดิรัจฉาน ยังมีความเคารพ ยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ การที่พวกเธอเป็นบรรพชิตในธรรม วินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ มีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียว กันอยู่ นั่นจะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมนุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี กรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่ กว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

-พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๗ 
วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒    หน้าที่ ๗๔  ข้อที่ ๒๖๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น