ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์



ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ {๑} ทั้งหลาย ย่อมไม่มี; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ {๒} ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี; เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ; ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น. เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่; เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี; เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง; เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว. เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

๑. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต ๒. ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น