มัชฌิมาปฏิปทาสำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
(๒. พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง พอตัวในการช่วยผู้อื่น. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพหรมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น. (๓. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ แต่เขา หาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้ง ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น. (๔. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขา ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง. (๕. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สามประการ อย่างไรเล่า ? สามประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา หาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น. (๖. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สามประการ อย่างไรเล่า ? สามประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ เขา ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้งเขา ไม่รู้ อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง. (๗. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขามีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขาหาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการ พูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น. (๘. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน) ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ว่าเขา มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ และทั้งเขาสามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ด้วย ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง. - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๕ - ๓๐๘/๑๕๒ - ๑๕๙.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น