เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น

เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น


เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น


เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น



ภิกษุ ท. ! เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘เราจักรักษาซึ่งตน’; เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘เราจักรักษาซึ่งผู้อื่น’. ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตน ก็คือรักษาผู้อื่น : เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน ๑ . ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาตนด้วยการเสพธรรมะ ด้วยการเจริญธรรมะ ด้วยการทำให้มากซึ่งธรรมะ. นี้แหละคือ เมื่อรักษาตนอยู่ จะมีผลเป็นการรักษาผู้อื่น. ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาผู้อื่นด้วยการอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู. นี้แหละคือ เมื่อรักษาผู้อื่นอยู่ จะมีผลเป็นการรักษาตนด้วย. ภิกษุ ท. ! เมื่อคิดว่าเราจักรักษาตน ก็จงเจริญสติปัฏฐานเถิด, เมื่อคิดว่าเราจักรักษาผู้อื่น ก็จงเจริญสติปัฏฐานเถิด; เพราะว่าเมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย; อย่างนี้แล. (ข้อนี้หมายความว่า การทำให้เกิดสติปัฏฐานชื่อว่ารักษาตน. ในสติปัฏฐานนั้นมีการระลึกด้วยพรหมวิหาร จึงถือว่ามีการรักษาผู้อื่นด้วย). - มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๒๔ - ๒๒๕/๗๕๘ - ๗๖๒.


    
    ๑. คำนี้หมายความว่า เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อประโยชน์แก่ตน ก็จักมีประโยชน์ถึงผู้อื่นเนื่องกันไปในตัวด้วย เหมือนกับที่บุรุษผู้รักษาโคนไม้กับบุรุษผู้อยู่ปลายไม้ ต่างฝ่ายต่างมุ่งรักษาตนดีแล้วก็จะเป็นการรักษาซึ่งกันและกันให้ไม่พลาดพลั้งลงไป, ฉันใดก็ฉันนั้น.

1 ความคิดเห็น: