การรู้อริยสัจ รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ
การเกี่ยวข้องกับเงินทองของภิกษุ
การเกี่ยวข้องกับเงินทองของภิกษุ
วินัยบัญญัติ ที่มาในสิกขาบทปาติโมกข์
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองเงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
อนึ่ง ภิกษุใด ถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุ
ชื่อนี้ให้ครองจีวร
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล
ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกร
ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย
ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล
ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้งว่า
รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี
ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่ง
ต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้
การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี
ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่าน
อย่าได้ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
-บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๕๔/๗๐ , -บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๙๐/๑๐๕ ,
-บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๙๔/๑๑๐, -บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๙๙/๑๑๓
-บาลี มหา. วิ. ๕/๑๒๐/๘๕ , -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๑/๖๒๕
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์. ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์ กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูลอื่นใดในภายหลัง ย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี; ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้ จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือนไป บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด...” . -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๗/๔๕๔.
ปริญญาที่แท้จริง
ปริญญาที่แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ! ปริญญา (ความรอบรู้) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ, อันใด ; ภิกษุทั้งหลาย. ! อันนั้นแหละเราเรียกว่า ปริญญา (ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งการบรรลุนิพพาน ซึ่งจัดว่าเป็นความรู้อันแท้จริง) แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๓/๕๕.