ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

 ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะ

จากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

Guardians of the Alushshy



ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่; (ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา) จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล.


-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.,

ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ

ผู้ให้โภชนะ

ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ

นายก ทายก



ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างแก่ปฏิคาหก ๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งพละอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์. ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างนี้แก่ปฏิคาหก. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ผู้ใดย่อมให้โภชนะโดยเคารพ ตามกาลอันควร แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้ฐานะทั้ง ๔ อย่าง คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ นรชนผู้มีปกติ ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในที่นั้นๆ. ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างแก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์ของเป็นของมนุษย์ ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์. ภิกษุทั้งหลาย ! ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล. (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ. -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๔/๕๙. -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗.

ปัพพโตปมสูตรที่ ๕

 ปัพพโตปมสูตรที่ ๕

ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ






[๔๑๑] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับในตอนกลางวัน ครั้นแล้วได้ทรงอภิวาท แล้วประทับอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกะท้าวเธอว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์ เสด็จมาแต่ไหนหนอ แต่วัน ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ผู้เมา แล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ผู้อันความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงแล้วซึ่งความมั่นคงในชนบทผู้ชำนะซึ่งปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ย่อมมีราชกรณียะอันใด บัดนี้หม่อมฉันถึงแล้วซึ่งความขวนขวายในราชกรณียะ เหล่านั้น ฯ [๔๑๒] พ. ดูกรมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้ ข้าราชการของพระองค์ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน พึงมาแต่ทิศตะวันออก เขาเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วพึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พึงทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้าพึงมาจากทิศตะวันออก ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆ กำลังกลิ้ง บดปวงสัตว์มา พระพุทธเจ้าข้า สิ่งใดที่พระองค์จะพึงทรงกระทำขอได้โปรดกระทำเสีย ลำดับนั้น ข้าราชการคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน พึงมาแต่ทิศใต้ ฯลฯ ถัดนั้น ข้าราชการคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน พึงมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ ต่อจากนั้น ข้าราชการคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจา เป็นหลักฐาน พึงมาจากทิศเหนือ เขาเข้ามาเฝ้าพระองค์แล้ว พึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พึงทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้าพึงมาจากทิศเหนือ ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆ กำลังกลิ้งบดปวงสัตว์มา พระพุทธเจ้าข้า สิ่งใดที่พระองค์จะพึงทรงกระทำ ขอได้โปรดกระทำเสียเถิด ฯ ดูกรมหาบพิตร ครั้นเมื่อมหาภัยอันร้ายกาจ ที่ทำให้มนุษย์พินาศใหญ่โตถึงเพียงนี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่า ที่พระองค์จะพึงทรงกระทำใน ภาวะแห่งมนุษย์ที่ได้แสนยาก ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นเมื่อมหาภัยอันร้ายกาจ ที่ทำให้มนุษย์พินาศอันใหญ่โตถึงเพียงนั้น บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน อะไรจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉัน พึงกระทำ ในภาวะแห่งมนุษย์ที่ได้แสนยากเล่า นอกจากการประพฤติธรรม นอกจากการประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากการสร้างกุศล นอกจากการทำบุญ ฯ [๔๑๓] พ. ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพขอถวายพระพรให้พระองค์ทรงทราบ ดูกรมหาบพิตร ชราและมรณะย่อมครอบงำพระองค์ ดูกรมหาบพิตร ก็และเมื่อชรามรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่า จะพึงเป็นกิจที่มหาบพิตรพึง กระทำ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็และเมื่อชรามรณะครอบงำหม่อมฉันอยู่ อะไรเล่าจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันควรจะทำ นอกจากการประพฤติธรรม นอกจาก การประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากการสร้างกุศล นอกจากการทำบุญ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ การรบด้วยช้างเหล่าใด ย่อมมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ได้มูรธา ภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ผู้อันความกำหนัดในกาม กลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงแล้วซึ่งความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะซึ่งปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้ว ครอบงำอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชรามรณะครอบงำอยู่ คติวิสัยแห่งการรบด้วยช้างแม้เหล่านั้น ไม่มีเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การรบด้วยม้าแม้เหล่าใด ฯลฯ การรบด้วยรถแม้เหล่าใด ฯลฯ การรบด้วยทหารเดินเท้าแม้เหล่าใด ย่อมมี แก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความ เป็นใหญ่ ผู้อันความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้วผู้ถึงแล้วซึ่งความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบงำอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชรามรณะครอบงำอยู่ คติวิสัยแห่งการรบด้วยทหารเดินเท้าแม้เหล่านั้นไม่มีเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชสกุลนี้ มหาอำมาตย์ผู้มีมนต์ ซึ่งสามารถจะใช้มนต์ทำลายข้าศึกที่ยกมา ก็มีอยู่เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อชรามรณะครอบงำสิ คติวิสัยแห่งการรบด้วยมนต์ แม้เหล่านั้นหามีไม่ อนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชสกุลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในเวหาส ซึ่งพวกหม่อมฉัน สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกมาแตกกันก็มีอยู่เป็นอันมาก ข้าแพระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อชรามรณะครอบงำสิ คติวิสัยแห่งการรบด้วยทรัพย์แม้ เหล่านั้นหามีไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อชรามรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันควรทำ นอกจากการประพฤติธรรม นอกจากการประพฤติ สม่ำเสมอ นอกจากการสร้างกุศล นอกจากการทำบุญ ฯ [๔๑๔] ป. ถูกแล้วๆ มหาบพิตร ก็เมื่อชรามรณะครอบงำอยู่ อะไร เล่าจะพึงเป็นกิจที่พระองค์ควรทำนอกจากการประพฤติธรรม นอกจากประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากการสร้างกุศล นอกจากการทำบุญ ฯ [๔๑๕] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
    ภูเขาใหญ่แล้วด้วยศิลา จดท้องฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด ชราและมัจจุก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย ไม่เว้นใครๆไว้เลย ย่อมย่ำยีเสียสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง พลม้า ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลรถ ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยการรบด้วยมนต์หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมและในพระสงฆ์ ผู้ใดมีปรกติประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้น ในโลกนี้นั่นเทียว ผู้นั้นละโลกนี้ไป ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

จบ โกสลสังยุต

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
หน้าที่ ๑๒๔.  ข้อที่ ๔๑๑ - ๔๑๒

ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่ใช่เพราะเครื่องแบบ

 ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่ใช่เพราะเครื่องแบบ

มึงเป็นลา




ภิกษุทั้งหลาย ! ลาที่เดินตามฝูงโคไปข้างหลังๆ แม้จะร้องอยู่ว่า “กู ก็เป็นโค กู ก็เป็นโค” ดังนี้ก็ตามที แต่สีของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เสียงของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เท้าของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ มันก็ได้แต่เดินตามฝูงโคไปข้างหลังๆ ร้องเอาเองว่า “กู ก็เป็นโค กู ก็เป็นโค” ดังนี้ เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในกรณีเช่นนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ แม้จะเดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลังๆ ร้องประกาศอยู่ว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็นภิกษุ” ดังนี้ ก็ตามที แต่ความใคร่ในการประพฤติสีลสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ความใคร่ในการประพฤติปัญญาสิกขาของเธอ ไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้น ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุไปข้างหลังๆ ร้องประกาศเอาเองว่า “ข้า ก็เป็นภิกษุ ข้า ก็เป็นภิกษุ” ดังนี้เท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “ความใคร่ในการประพฤติสีลสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการประพฤติจิตตสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ ความใคร่ในการประพฤติปัญญาสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๒.

ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้

ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอน
สิ่งที่บัญญัติไว้

พุทธเป็นBluetooth





    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว     ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักหมั่นประชุมกันเนืองๆ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิก ประชุม และจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงกระทำ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่ง ที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้นอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหาอันจะก่อให้เกิดภพใหม่ซึ่ง บังเกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้ยินดีในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใด พึงหวัง ได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งสติไว้ในภายในว่า ไฉนหนอ เพื่อน พรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังมิได้มา พึงมาเถิดและที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุกดังนี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ จักตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุ และ หมู่ภิกษุจัก สนใจในอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ นี้ อยู่เพียงใด หมู่ภิกษุพึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ     -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.

เชื่อว่า “กรรม” ไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง

เชื่อว่า “กรรม” ไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง

ไซยาไนด์ ไซดักปลา



ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาผ้าที่ทอด้วยสิ่งที่เป็นเส้นๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล (ผ้าทอด้วยผมคน) นับว่าเป็นผ้าเลวที่สุด. ผ้าเกสกัมพลนี้ เมื่ออากาศหนาว มันก็เย็นจัด, เมื่ออากาศร้อน มันก็ร้อนจัด. สีก็ไม่งาม กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง; ข้อนี้เป็นฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิต่างๆ ของเหล่าปุถุสมณะ (สมณะอื่นทั่วไป) แล้ว ลัทธิมักขลิวาท นับว่าเป็นเลวที่สุด ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! มักขลิโมฆบุรุษนั้น มีถ้อยคำและหลักความเห็นว่า “กรรมไม่มี, กิริยาไม่มี, ความเพียรไม่มี” (คือในโลกนี้ อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลย แม้แต่ตัวกรรมเองก็ไม่มี, ทำอะไรเท่ากับไม่ทำ ในส่วนของกิริยาและความเพียร ก็มีนัยเช่นเดียวกัน). ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เคยมีแล้วในอดีตกาลนานไกล ท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่จักมีมาในอนาคตกาลนานไกลข้างหน้า ท่านเหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาละนี้ แม้เราเองผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เป็นผู้กล่าวว่า มีกรรม มีกิริยา มีวิริยะ. มักขลิโมฆบุรุษ ย่อมคัดค้านเราว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีวิริยะ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! คนเขาวางเครื่องดักปลา ไว้ที่ปากแม่น้ำ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทั้งหลาย ฉันใด; มักขลิโมฆบุรุษ เกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนกับผู้วางเครื่องดักมนุษย์ไว้ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ฉันนั้น. -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๖๙/๕๗๗.

การเจริญเมตตา (หรือการเจริญพรหมวิหาร )

 การเจริญเมตตา (หรือการเจริญพรหมวิหาร)

ยาพิษไม่ต้องบุคคลนั้น



เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ, อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่ สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ (กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโตวิมุตติ...,) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรกทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑     เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑     เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑     เทพยดารักษา ๑     ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนั้น ๑     จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑     สีหน้าผุดผ่อง ๑     ไม่หลงทำกาละ ๑     เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล. -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐., -บาลี มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒. -บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒., -บาลี สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓.