ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

 ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล

ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล



ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอได้เห็นท่อนไม้ใหญ่นั้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคา หรือไม่ ? “ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” ภิกษุทั้งหลายกราบทูล. ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งในหรือฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลางน้ำ, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้, ท่อนไม้เช่นที่กล่าวนี้ จักลอยไหลพุ่งไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคา โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเท ไปสู่ทะเล. ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น : ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน, ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้, พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดาที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเท ไปสู่นิพพาน.

ครั้นสิ้นกระแสพระดำรัสแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นฝั่งในหรือฝั่งนอก ? อะไรชื่อว่าจมในท่ามกลาง ? อะไรชื่อว่าขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก ? อะไรชื่อว่าถูกมนุษย์จับไว้ ? อะไรชื่อว่าถูกอมนุษย์จับไว้ ? อะไรชื่อว่าถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ? อะไรชื่อว่าเน่าเสียเองในภายใน ?” ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “ฝั่งใน” เป็นชื่อของ อายตนะภายใน ๖. คำว่า “ฝั่งนอก” เป็นชื่อของ อายตนะภายนอก ๖. คำว่า “จมเสียในท่ามกลาง” เป็นชื่อของ นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยความเพลิน). คำว่า “ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก” เป็นชื่อของ อัส๎มิมานะ (ความสำคัญว่า เรามี เราเป็น). คำว่า “ถูกมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ระคนด้วยพวกคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน, โศกเศร้าด้วยกัน, มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ประกอบการงานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน : ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกมนุษย์จับไว้. คำว่า “ถูกอมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า “ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้ หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้ : ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกอมนุษย์จับไว้. คำว่า “ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้” เป็นชื่อของ กามคุณ ๕. “ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน” คืออย่างไรเล่า ? คือภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล. -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓/๓๒๒.

รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม

 รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม

การแก้กรรมที่ถูกต้อง


ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ .... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)     สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)     สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)     สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)     สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)     สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)     สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)     สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้; อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว. -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘/๓๓๔.

ผู้แบกของหนัก

 ผู้แบกของหนัก

ผู้แบกของหนัก



ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ, เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ? ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.     อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :-         ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,         ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,         ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,         ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,         และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก. ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล (ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก. ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าการแบกของหนัก ? ภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาอันใดที่ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก. -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙.

เปรตวิสัย

 เปรตวิสัย

ภิกษุเปรต



ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวว่า :- อาวุโส ! ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต มีแต่ร่างกระดูก ลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่งตามช่องซี่โครง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง. อาวุโส ! ผมนั้นได้คิดเช่นนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ น่าประหลาดจริงหนอ ที่สัตว์แม้เห็นปานนี้ ยักษ์แม้เห็นปานนี้ เปรตแม้เห็นปานนี้ การได้อัตภาพแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระโมคคัลลานะอวดอุตริมนุสธรรม. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :- ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีจักษุอยู่ ย่อมเป็นผู้มีญาณอยู่ เพราะสาวกได้รู้ได้เห็น หรือได้ทำสัตว์เช่นนี้ให้เป็นพยานแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อกาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้นและคนอื่นไม่เชื่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในพระนครราชคฤห์นี่เอง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะไม่ต้องอาบัติ. ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ๑๗. ภิกษุเปรต ...ได้เห็นภิกษุเปรต ลอยไปในเวหาส์ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ... . ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :- ภิกษุทั้งหลาย ! ... ภิกษุเปรตนั้นเคยเป็นภิกษุผู้ชั่วช้า ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ... . ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... -บาลี มหาวิ. วิ. ๑/๒๑๐/๒๙๕.

เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น

เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น

วู้ดดี้ อย่าคิดมาก




ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ)ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ)และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ) สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.

ความมีขึ้นแห่งภพ แม้มีอยู่ชั่วขณะก็น่ารังเกียจ

ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้. (ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วยมูตร ด้วยน้ำลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิต โดยทำนองเดียวกัน เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๔.) -บาลี เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.

การดำรงสมาธิจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจา

 การดำรงสมาธิจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจา

โอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อย



ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น.     ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาท อันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทางแห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้อยู่อีกหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้  พระเจ้าข้า !”. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน. -บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๘/๒๗๒.

รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม

 รายละเอียดที่บุคคลควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรม

กรรม เดลิเวอรี่



ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ .... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)     สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)     สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)     สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)     สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)     สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)     สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)     สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้; อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว. -บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘/๓๓๔.

ห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท

ห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท

แมน Only a Man



[๑๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ. เธอเข้าไปหาภิกษุ หนุ่มๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า.

    ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า.     เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสัน แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า.     เธอถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์.     ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

    พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๔๒ ข้อที่ ๑๒๕