เหตุสำเร็จความปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสุนักขัตตะ ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ; (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา, น่ารักใคร่, น่าพอใจ, เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก, เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่, เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ. สุนักขัตตะ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณห้าอย่าง
สุนักขัตตะ ! นี้เป็นสิ่งที่มีได้เป็นได้ คือข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก (คือกามคุณห้าอย่าง), ถ้อยคำสำหรับสนทนา อันพร่ำบ่นถึงเฉพาะต่อกามคุณนั้น ๆ ย่อมตั้งอยู่ได้สำหรับบุรุษบุคคลผู้มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก, เขาย่อมตรึกตามตรองตาม ถึงสิ่งอันอนุโลมต่อกามคุณนั้น ๆ, สิ่งนั้นย่อมคบกับบุรุษนั้นด้วย บุรุษนั้นย่อมเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้นด้วย. ส่วนเมื่อถ้อยคำที่ประกอบด้วยสมาบัติเรื่องไม่หวั่นไหว (ด้วยกามคุณ) ที่ผ่านไปมาอยู่ เขาย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่กำหนดจิตเพื่อจะรู้, ถ้อยคำชนิดนั้น ก็ไม่คุ้นเคยกับบุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็ไม่สนใจด้วยคำชนิดนั้น. สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้จากบ้านหรือนิคมของตนไปนมนาน ครั้นเห็นบุรุษผู้หนึ่ง เพิ่งไปจากบ้านหรือนิคมของตน เขาย่อมถามบุรุษนั้น ถึงความเกษม ความมีอาหารง่าย ความปราศจากโรค ของบ้านนั้น นิคมนั้น, บุรุษนั้นก็บอกให้. สุนักขัตตะ ! เธอจะเข้าใจว่าอย่างไร : เขาย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ต่อบุรุษนั้น ย่อมกำหนดจิตเพื่อจะรู้ ย่อมคบบุรุษนั้น ย่อมสนใจด้วยบุรุษนั้น มิใช่หรือ ? - อุปริ. ม. ๑๔/๖๒/๗๐ - ๗๑. ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป. ๔ ประการ อะไรบ้างเล่า ? ๔ ประการ คือ :-
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย อดทน ยอมรับคำสั่งสอนโดยความเคารพหนักแน่น
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สอง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาด ผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุผู้เถระ ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่มีจิตตกต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง พวกภิกษุที่บวชในภายหลัง ได้เห็นพระเถระเหล่านั้น ทำแบบฉบับเช่นนั้นไว้ ก็ถือเอาเป็นแบบอย่าง, พวกภิกษุรุ่นหลัง จึงเป็นพระที่ไม่ทำการสะสมบริกขาร ไม่ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่มีจิตตกต่ำ ด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ มุ่งหน้าไปในกิจแห่งวิเวกธรรม ย่อมปรารถความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สี่ ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุ ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปเลย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ ... เขาให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้” แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” แต่ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่ายามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่านิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี … ภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต (จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ) เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าพรหมกายิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้. สารีบุตร ! นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม ! ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่านจักไม่ต่ำทราม. มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้. ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ธรรม ๔ ประการ คือ :- มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้ (๑) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
(๒) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้. (๓) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้. (๔) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้. มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน. ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน ? “มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไป โน้มไป เอนไปพระเจ้าข้า !”. มหานาม ! ฉันใดก็ฉันนั้น : อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้ แล. ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า
อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า
ดูกรผัคคุณะเธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา
ย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบนั้นไม่บรรเทาเลยข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์อดทนไม่ได้
ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลยเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ...เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็ประมาณยิ่งฉันนั้น ข้าแต่ระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละและในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน. กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; ผัสสะทั้งหลายอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกสัตว์นรก. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมดำ มีวิบากดำ. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง; ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อม หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉนคือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุข ก็ดี ทุกข์ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี พระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ ... ยศ ... ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ ...แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ... แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ ย่อมยินดี สรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ ... ยศ ...ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาแม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ แม้ความเสื่อมลาภ ... แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ... แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์ ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้ ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่อ อนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้มีอยู่ เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไป เพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง. ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้นเป็นอย่างไร คือ (๑) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน” (๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุขรับทุกข์ หรือ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้” (๓) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุขรับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย”.
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.
ชนชั้นปรสิต |
อย่าลืมฉัน |
ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ |
โจ๊กเกอร์ |
ทอง เอก หมอยาท่าโฉลง |
กลิ่นกาสะลอง |
นาคี |
เด็กใหม่ 2 |
คู่กรรม |
กัปตันมาเวล |
Squid Game parody |