บทสวดแก้ความหวาดกลัว

บทสวดแก้ความหวาดกลัว

Halloween




อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในป่า
หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่างก็ตาม อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากัง โน สิยา พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวก็จะไม่พึงมีแก่พวกเธอทั้งหลาย โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้เจริญแห่งโลก เป็นผู้ประเสริฐแห่งนรชน มิได้ไซร้
อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง ก็พึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระธรรม
อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว มิได้ไซร้
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าเถิด
เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย
ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
จักไม่มีเลย ดังนี้.

-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๒๓/๘๖๖.

ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง

ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง

อย่าลืมตาย

อย่าลืมตาย 19




ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด. พวกเธอเจริญมรณสติอยู่บ้างหรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบ และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง...ดังนี้ก็ดี, เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลากลางวัน... ดังนี้ก็ดี, เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง... ดังนี้ก็ดี, เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔-๕ คำ เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด การปฏิบัติตามคำสั่งสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี, ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฝ่ายภิกษุพวกที่เจริญมรณสติ อย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว” ดังนี้ก็ดี, ว่า “โอหนอ เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่หายใจเข้า แล้วหายใจออก หรือชั่วขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด, การปฏิบัติตามคำสอนควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี; ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว, เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้น
อาสวะอย่างแท้จริง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐.

วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์

วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์

วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์



ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ มีอายุสั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมแห่งโภคะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู.
ภิกษุทั้งหลาย ! มุสาวาท (คำเท็จ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง. ภิกษุทั้งหลาย ! ปิสุณาวาจา (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปิสุณาวาจาของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร. ภิกษุทั้งหลาย ! ผรุสวาจา(คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งผรุสวาจาของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมผัปปลาปะ (คำเพ้อเจ้อ)ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งสัมผัปปลาปะของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อวาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ. ภิกษุทั้งหลาย ! การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อความเป็นบ้า (อุมฺมตฺตก).

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๑/๑๓๐.

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)



ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ (๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
(๒) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
(๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน. ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๐/๑๔๕๑.

ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เกี่ยวกับพระองค์เอง

ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เกี่ยวกับพระองค์เอง

เต่าปลดแอก

ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เกี่ยวกับพระองค์เอง

เต่าตาบอด



ภิกษุทั้งหลาย ! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น;
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอ เข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ? “ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”.
ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกันที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว; ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว; และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.

เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก

เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก


ธรรมชาติ 3 อย่าง




ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ;
ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ,
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.
ธรรมชาติ อย่างนั้น คือ อะไรเล่า ?

    คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ).

    ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้,
ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก,
เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
และ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

    - ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.

สมชีวิสูตรที่ ๑

สมชีวิสูตรที่



สมชีวิสูตรที่ ๑


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวันใกล้บ้านสุงสุมารคีระ
แคว้นภัคคะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ เข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลบิดาคฤหบดี แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้งนั้นแล คฤหบดีผู้นกุลบิดาและคฤหปตานีผู้นกุลมารดา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว คฤหบดีผู้นกุลบิดาได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำคฤหปตานีผู้นกุลมารดาซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อข้าพระองค์ผู้ยังเป็นหนุ่ม ข้าพระองค์มิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหปตานีผู้นกุลมารดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า ข้าพระองค์ทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ
แม้คฤหปตานีผู้นกุลมารดา ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำหม่อมฉันซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อคฤหบดีผู้นกุลบิดาซึ่งยังเป็นหนุ่มหม่อมฉันมิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหบดีผู้นกุลบิดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า หม่อมฉันทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน
ทั้งในสัมปรายภพ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้
ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้
มีศรัทธาเสมอกัน
มีศีลเสมอกัน
มีจาคะเสมอกัน
มีปัญญาเสมอกัน
ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของ ผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารัก แก่ กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อ กัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและ วัตร เสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลิน บันเทิงใจ อยู่ในเทวโลก ฯ

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตหน้าที่ ๖๐ ข้อที่ ๕๕



คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑)

คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑)


คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๑)


ครั้งนั้น พระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า : สารีบุตร ! ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ โสตาปัตติยังคะ ดังนี้. โสตาปัตติยังคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โสตาปัตติยังคะ คือ :- (๑) การคบสัตบุรุษ (สปฺปริสสํ เสว)
(๒) การฟังพระสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺสวน) 
(๓) การทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) 
(๔) การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ) ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! โสตาปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔/๑๔๒๗.